ในบันทึกที่ผ่านมา
ผมชี้ให้เห็นข้อบกพร่องอย่างฉกาจฉกรรจ์ของพระพม่าไปแล้ว 3 ประเด็น ในบันทึกนี้
เรามาต่อประเด็นที่เหลือทั้งหมด
4) พยายามแปลความหมายของสติปัฏฐาน 4
ให้ผิดเพี้ยนไปจากเดิม
เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป
อย่างไม่มีใครกล้าโต้แย้งและโต้เถียงก็คือ สติสติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย
[1]
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มาจาก กาย + อนุ + ปัสสนา +
สติ + ปัฏฐาน
[2]
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มาจาก เวทนา + อนุ +
ปัสสนา + สติ + ปัฏฐาน
[3]
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มาจาก จิต + อนุ + ปัสสนา
+ สติ + ปัฏฐาน
[4]
ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน มาจาก ธรรม + อนุ + ปัสสนา
+ สติ + ปัฏฐาน
สาวกของสายยุบหนอพองหนอ
กับสายนามรูป พยามยามแปลองค์ประกอบหลักของสติปัฏฐาน 4 ไปในทำนองนี้
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
คือ
การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
คือ
การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
คือ
การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
คือ
การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม;
เรียกสั้น ๆ ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม
ซึ่งเป็นความพยายามที่จะแปลสติปัฏฐาน
4 ให้ผิดเพี้ยนไปจากคำแปลที่ถูกต้อง
คำว่า
อนุ + ปัสสนา + สติ + ปัฏฐาน
มีความหมายของแต่ละคำ ดังนี้
อนุ พจนานุกรมฉบับล่าสุดให้ความหมายของคำว่า
“อนุ” ไว้ว่า
“คำประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า
น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย, ภายหลัง, รุ่นหลัง เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง, ตาม เช่น
อนุวัต = เป็นไปตาม, เนืองๆ เช่น อนุศาสน์ = สอนเนืองๆ คือ พร่ำสอน.
|
ปัสสนา = เห็น
สติ = สติ
ปัฏฐาน = ที่ตั้ง
ดังนั้น
องค์ประกอบของสติปัฏฐาน 4 นั้น
ถ้าแปลกันในถูกต้องแล้ว ควรจะแปลดังนี้
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งแห่งสติอันตามเห็นซึ่งกาย
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
แปลว่า ที่ตั้งแห่งสติอันตามเห็นซึ่งเวทนา
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
แปลว่า ที่ตั้งแห่งสติอันตามเห็นซึ่งจิต
ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
แปลว่า ที่ตั้งแห่งสติอันตามเห็นซึ่งธรรม
จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า
สติปัฏฐาน 4 เป็นอนุปัสสนา ไม่เป็นวิปัสสนา
ขนาดวิปัสสนาเองแต่เพียงอย่างเดียว
ยังไม่สามารถทำให้บรรลุพระอรหันต์ได้
การปฏิบัติธรรมที่เป็นเพียงอนุปัสนา
จึงไม่สามารถทำให้บรรลุพระอรหันต์ได้อย่างเด็ดขาด
การพยายามแปล
“ปัสสนา ซึ่งแปลว่า เห็นไปเป็น "พิจารณา" หรือ "กำหนด"
เป็นความผิดพลาดอย่างไม่น่าให้อภัยของกลุ่มผู้ปฏิบัติธรรมของสายพองยุบ-นาม รูป
เนื่องจาก
มองในแง่มุมของภาษาศาสตร์ ไม่มีหนทางใดๆ
ที่เป็นวิชาการ ที่จะแปลไปเช่นนั้นได้
สาเหตุก็เกิดจาก
กลุ่มพระภิกษุชาวพม่านั้น
ศึกษาเน้นไปทางพระอภิธรรม แต่ตัวท่านเหล่านั้น ได้ถูกองค์ความรู้ของวิทยาศาสตร์ครอบงำ
จนไม่เชื่อในองค์ความรู้ของศาสนาทั้งหมด
พูดให้เข้าใจง่ายๆ
ก็คือ ไม่เชื่อว่า จักษุในศาสนาพุทธมี 5 ประเภท
ประเภทแรกคือ
ตาเนื้อ จักษุอีก 4 ประเภทเป็นตาภายใน จึงปฏิเสธ "การเห็น"
เสียหมดว่าไม่เป็นจริง ไม่ได้แยกแยะว่า การเห็นที่เป็นกิเลสก็มี การเห็นที่เป็นไปตามหลักสูตรของพระพุทธเจ้าก็มี
5) การปฏิเสธการเห็นของสายพองยุบ-นามรูป ถือว่าเป็นความผิดขั้นร้ายแรงที่สุด
ในศาสนาพุทธนั้น
เครื่องมือสำคัญอย่างยิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ "เห็น"
กับ "รู้"
ในพระไตรปิฎกจะมีคำว่า
"เห็น" กับ "รู้" อยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าขาดการเห็น "การรู้ยิ่ง"
ที่สามารถทำให้บรรลุพระอรหันต์จะเกิดขึ้นไม่ได้
คำว่า
"เข้าใจ (understanding) ไม่มีในพระไตรปิฏก
ดังนั้น
จะมาแปลคำว่า "ทัสสนะ", "ทิฏฐิ", "ปัสสนา" ซึ่งมีรากศัพท์ที่แปลว่า "เห็น"
ไปเป็น "เข้าใจ" ไม่ได้
การปฏิเสธ
"การเห็น" สืบเนื่องมาก
การเข้าใจผิดของพระภิกษุชาวพม่า เพราะท่านเองทำไม่ได้ เมื่อทำไม่ได้ แต่อยากสอน ก็ตีความคำว่า “เห็น” เป็นอย่างอื่นไป เช่น เข้าใจ รู้สึก พิจารณา กำหนด เป็นต้น
สาวกของสายพองยุบ-นามรูป
ไปเรียนมาจากพระภิกษุชาวพม่าจึงเข้าใจผิดตามกันไป
พูดง่ายๆ
ก็คือ เชื่อพม่าแต่ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า เพราะคำสอนของพม่าดังกล่าวนั้น
ขัดกับคัมภีร์วิสุทธิมรรคและขัดกับพระไตรปิฎก
ถ้าเชื่อพระพุทธเจ้าก็ต้องตีความตามตัวอักษร
เห็น ก็คือ เห็น จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้
วิชาที่ตนปฏิบัติทำไม่ได้
ก็ต้องไปดูสายปฏิบัติธรรมอื่นๆ ว่ามีใครทำได้บ้างไหม ถ้าไม่มีใครทำได้เลย ก็ยึดของตัวไป เพราะ
เป็นหนทางที่ดีที่สุดแล้ว
พระภิกษุชาวพม่านั้น
โชคร้ายมากๆ เพราะ ในประเทศพม่าไม่มีสายปฏิบัติธรรมใดทำได้เลย
แต่ในเมืองไทยมีสายปฏิบัติธรรมที่ทำได้ พิสูจน์ได้ คือ สายวิชาธรรมกาย ถ้าเป็นนักวิชาการจริง ก็ควรมาศึกษาดู หรือถ้าจะลองปฏิบัติตามด้วยตนเอง
ก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
การเห็นของวิชชาธรรมกายนั้น
มีบันทึกไว้เป็นหลักสูตร และมีคนทำได้ พิสูจน์ได้ เป็นแสนๆ คนแล้ว ตั้งแต่เด็ก 3 ขวบ
จนถึงคนชรา สามารถพิสูจน์ได้ให้เห็นอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
เมื่อรู้ว่าวิชชาธรรมกายสอนได้
ทำได้ แต่ก็ไม่เชื่อคนไทย องค์ความรู้ไทย ไปเชื่อพระชาวพม่า ทั้งที่ๆ
คำสอนนั้นก็ขัดกับคัมภีร์วิสุทธิมรรคและขัดกับพระไตรปิฎก
อย่างนี้
ท่านว่า มันเป็น "กรรมของสัตว์"
6)
การปฏิบัติแบบสายพองยุบ-นามรูปเป็นเพียงวิธีปฏิบัติเพียงส่วนหนึ่งของสติปัฏฐาน 4 เท่านั้น
การปฏิบัติธรรมตามแบบของสายพองยุบ-นามรูปนั้น บุคคลสำคัญๆ ยอมรับเองว่า
เป็นเพียงการพิจารณาอิริยาบถใหญ่และอิริยาบถย่อยเท่านั้น
เนื่องจากทำให้พิจารณาง่าย
การปฏิบัติธรรมเพียงเท่านั้น
เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสติปัฏฐาน 4 เท่านั้น
ขนาดที่ว่าสติปัฏฐาน
4 เอง ยังเป็นเพียงอนุปัสนาเท่านั้น
การปฏิบัติธรรมแต่เพียงส่วนหนึ่งของสติปัฏฐาน 4
จึงไม่สามารถทำให้สายปฏิบัติธรรมแบบพองยุบ-นามรูปเป็นวิปัสสนากรรมฐานไปได้
สรุปในเบื้องต้น
การปฏิบัติธรรมตามสายยุบหนอพองหนอกับสายนามรูปไม่เป็นวิปัสสกรรมฐาน
เป็นแต่เพียงสมถะกรรมฐานเท่านั้น
และก็ไม่มีการปฏิบัติแบบนี้
อยู่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค รวมถึงพระไตรปิฎกด้วย
พระภิกษุชาวพม่าอ้างอิงคัมภีร์วิสุทธิมรรคกับสติปัฏฐาน
4 เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการปฏิบัติธรรมที่ตนเองคิดขึ้น
แต่หลักการปฏิบัติไม่ได้เป็นไปตามคัมภีร์วิสุทธิมรรคกับสติปัฏฐาน 4 แต่อย่างใด
คำโฆษณาอวดอ้างที่เกินจริงว่า
การปฏิบัติธรรมแบบนี้ เป็นวิปัสสนากรรมฐานจึงไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
เป็นเพียงความเชื่อของพระภิกษุชาวพม่าเท่านั้น
คนไทยที่พากันไปหลงเชื่อก็จึงทำให้เสียเวลาเกิดทั้งชาตินี้ไปอย่างน่าเสียดาย
ผมขอสรุปข้อบกพร่องของพระพม่าอีกสักครั้ง
ดังนี้
1) เข้าใจผิด คิดไปว่าวิปัสสนากรรมฐานแต่เพียงอย่างเดียวทำให้บรรลุมรรคนิพพานได้
2) เข้าใจผิด คิดไปว่า สติปัฏฐาน 4
แต่เพียงอย่างเดียว ทำให้บรรลุพระอรหันต์ได้
3) สติปัฏฐาน 4
ไม่เป็นวิปัสสนา/เห็นแจ้ง เป็นอนุปัสนา/ตามเห็น
4)
พยายามแปลความหมายของสติปัฏฐาน 4 ให้ผิดเพี้ยนไปจากเดิม
5)
การปฏิเสธการเห็นของสายพองยุบ-นามรูป ถือว่าเป็นความผิดขั้นร้ายแรงที่สุด
6) การปฏิบัติแบบสายพองยุบ-นามรูปเป็นเพียงวิธีปฏิบัติเพียงส่วนหนึ่งของสติปัฏฐาน
4 เท่านั้น
บทความในชุดเดียวกัน