บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ผ่านมาแสดงความโง่

คุณผ่านมาเข้ามาให้ความเห็นครั้งแรกในบทความนี้  โดนผมตอบไปจนธาตุไฟแตกซ่าน รวมกันไม่ติด  ออกอาการมาอย่างยาวเหยียดในครั้งที่สอง ดังนี้ (09 ธันวาคม 2553 20:18)

ขอเรียนชี้แจงท่านอาจารย์มนัสครับ กระทู้ที่กระผมคัดลอกมาใส่ไว้ก่อนหน้าแล้วท่านอาจารย์ลบออก มิได้สรุปว่า ผมเชื่อตามพระธรรมปิฎกว่า สติปัฏฐาน 4 เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา

แต่ผมเชื่อตามครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่นที่แสดงคำสอนของท่านแล้วมีผู้รวบรวมในภายหลังไว้มากมายเป็นหนังสือหาอ่านได้ทั่วไป โดยประเด็นที่สรุปได้เหมือน ๆ กันทุกอาจารย์ก็คือ

มหาสติปัฏฐาน 4 ส่วนย่อย

1. กายานุปัสสนา การตั้งสติพิจารณากาย แบ่งย่อยออกไปเป็น 6 ส่วน (การตั้งสติกำหนดพิจารณากายให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา)
1. อานาปานสติ กำหนดลมหายใจเข้า-ออก
2. อิริยาบถ กำหนดให้รู้เท่าทันอิริยาบถ
3. สัมปชัญญะ ความรู้ตัวในการเคลื่อนไหวทุกอย่าง
4. ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบของร่างกาย (อวัยวะต่าง ๆ) ว่าเป็นของไม่สะอาด
5. ธาตุมนสิการ พิจารณาร่างกายของตนให้เห็นว่าเป็นสักแต่ว่าธาตุแต่ละอย่าง ๆ
6. นวสีวถิกา พิจาณาซากศพในสภาพต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มตายใหม่ ๆ จนถึงกระดูกป่นเป็นผุยผง (อันแตกต่างกันใน 9 ระยะเวลา ท่านเรียกว่าป่าช้า 9) ให้เห็นว่าเป็นคติธรรม ร่างกายของผู้อื่น (ซากศพที่กำลังพิจารณา) เป็นเช่นใด ร่างกายของเราก็จักเป็นเช่นนั้น (รวมเป็น 6 ส่วน)

2. เวทนานุปัสสนา (การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา คือ
การรู้สึกอารมณ์ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นเพียงเวทนา ... ที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ๆ) 1) สุข 2) ทุกข์ 3) ไม่ทุกข์ไม่สุข 4) สุขประกอบด้วยอามิส 5) สุขไม่ประกอบด้วยอามิส 6) ทุกข์ประกอบด้วยอามิส 7) ทุกข์ไม่ประกอบด้วยอามิส 8) ไม่ทุกข์ไม่สุขประกอบด้วยอามิส 9) ไม่ทุกข์ไม่สุข ไม่ประกอบด้วยอามิส (รวมเป็น 9 อย่าง)

3. จิตตานุปัสสนา (การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ...)
1) จิตมีราคะ 2) จิตไม่มีราคะ 3) จิตมีโทสะ 4) จิตไม่มีโทสะ 5) จิตมีโมหะ 6) จิตไม่มีโมหะ 7) จิตหดหู่ 8) จิตฟุ้งซ่าน 9) จิตใหญ่ (จิตในฌาน) 10) จิตไม่ใหญ่ (จิตที่ไม่ถึงฌาน) 11) จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า 12) จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า 13) จิตตั้งมั่น 14) จิตไม่ตั้งมั่น 15) จิตหลุดพ้น 16) จิตไม่หลุดพ้น (รวม 16 อย่าง)

4. ธัมมานุปัสสนา (การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ...)
1) พิจารณาธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุสมาธิ คือ นีวรณ์ 5 มี กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจะ และวิจิกิจฉา) เรียกว่า นี วรณบรรพ
2) ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เรียกว่า ขันธบรรพ
3) อายตนะภายใน 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เรียกว่า อายตนบรรพ
4) ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ 7 คือ โพชฌงค์ 7 (สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา) เรียกว่า โพชฌงคบรรพ
5) ตั้งสติกำหนดรู้ชัดธรรมทั้งหลายมีนีวรณ์ 5 (กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา) ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) อายตนะภายใน 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ) อายตนะภายนอก 6 (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธัมมารมณ์) โพชฌงค์ 7 {สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ (ความสงบกาย-สงบใจ) สมาธิ อุเบกขา] และอริยสัจจ์ 4 ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา) ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญขึ้นและดับไปอย่างไร เป็นต้น ตามความเป็นจริงของสรรพสิ่ง อย่างนั้น ๆ (รวม 5 ส่วน)

คำถามคือ การกำหนดลมหายใจ (อานาปานสติ) ,กำหนดรู้ทันอิริยาบถ (อิริยาบถ), พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ (ปฏิกูลมนสิการ) ,พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ (ธาตุมนสิการ) ,พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆอันแปลกกันไปใน 9 ระยะเวลา ให้เห็นคติธรรมของร่างกายของผู้อื่นเช่นใด ของตนจักเป็นเช่นนั้น (นวสีวถิกา) เป็นวิธีในสมถะกรรมฐาน 40 วิธีหรือไม่ครับ (อานาปานสติ,อสุภะ,มรณสติ)

การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ในข้อธัมมานุปัสสนา ทั้งห้าส่วนคือนีวรณ์ 5, ขันธ์ 5 , อายตนะภายใน 6 ,อายตนะภายนอก 6 , โพชฌงค์ 7และอริยสัจจ์ ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญขึ้นและดับไปอย่างไร

ถือว่า เป็นการเห็นตามหลักพระไตรลักษณ์หรือไม่ครับ

ถ้าเป็นผมเรียกว่า เป็นวิปัสสนา เช่นการได้กินขนมหวานลิ้นย่อมได้รับรู้รสหวานส่งกระแสประสาทไปที่สมองความจำรสหวานได้ย่อมส่งผลให้มือไปตักมากินอีก

เมื่อหมดแล้วก็หยิบน้ำดื่มล้างปากก็หยุดส่งกระแสประสาทไปที่สมอง ความรู้สึกหวานหายไปแล้ว กระแสประสาทเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปในกายนี้ แต่อัสสาทะเมื่อเกิดแก่จิตก็หลงผิดว่าขนมนั้นมีรสหวานจึงสั่งมือของกายนี้ให้ไปหยิบมาอีก ยิ่งกินยิ่งอร่อย เดินไปตักมาเพิ่ม

วันนี้หมดแล้ว พรุ่งนี้มาซื้อใหม่ ร้านเดิมเจ้าเก่า กินที่ไหนก็ไม่อร่อยเท่าที่นี่ ถ้ากำหนดสติรู้เท่าทันตั้งแต่คำแรกก็ไม่จำเป็นต้องตะเกียกตะกายมาหาที่ร้านเดิมทุกวัน ความหวานที่ลิ้นสัมผัสจึงเป็นเพียงอายตนะภายนอกกับภายในมากระทบกัน แต่ก็ทนอยู่สภาพเดิมไม่ ตั้งอยู่ชั่วครู่แล้วก็ดับไป เป็นอยู่แค่นี้ ขนมก็เป็นเพียงธาตุดินน้ำ ลิ้นก็เป็นส่วนของกาย เป็นเพียงที่ตั้งอายตนะภายใน

หรือแม้แต่ปิติจากการทำจิตให้เกิดสมาธิก็เป็นเพียงทางผ่านไปสู่ระดับฌานที่สูงขึ้นเท่านั้น จิตอิ่มเอิบขนลุกเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วก็ดับไป

ผมขอยกพุทธดำรัสข้อความหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอสังขตธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตธรรมเป็นอย่างไร  กายคตาสติ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตธรรม...สมถะและวิปัสสนา...สมาธิที่มีทั้งวิตกวิจาร สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจาร...สมาธิที่ไม่มีทั้งวกตกวิจาร สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ... สติปัฏฐาน ๔.... สัมมัปปทาน ๔.... อิทธิบาท ๔... อินทรีย์ ๕... พละ ๕.... โพชฌงค์ ๗... อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตธรรรม...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังขตธรรม.... ทางที่จะให้ถึงอสังขตธรรม เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย....นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง...เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่างได้เป็นผู้เสียใจในภายหลัง นี้เป็นคำสอนของเราเพื่อนทั้งหลาย ....

ที่มา
อสังขตสังยุต วรรคที่ ๑ สฬา. สํ. (๖๘๔-๖๘๔)
ตบ. ๑๘ : ๔๔๑-๔๔๓ ตท. ๑๘ : ๓๘๙-๓๙๐
ตอ. K.S. ๔ : ๒๕๖-๒๕๘

ความเห็นในเรื่องที่สติปัฏฐาน 4 เป็นทั้งสมถะและวิปัสนาและเป็นเรื่องสำคัญที่นำไปสู่ทางที่จะให้ถึงอสังขตธรรรม

ตามที่เคยได้อ่านจากบันทึกของหลวงตาบัวที่ถ่ายทอดคำสอนของหลวงปู่มั่น เพราะหลวงปู่มั่นก็เล่าให้หลวงตาบัวฟังว่า ท่านเองเคยเข้าสมาธิแล้วนิมิตว่าท่านก็เคยเกิดในสมัยพระพุทธเจ้าเป็นเพียงชาวบ้านแต่มีโอกาสฝึกสติปัฏฐาน 4 ตั้งแต่ชาตินั้นแล้ว

จึงไม่แปลกที่ท่านสำเร็จอรหันต์ได้ในที่สุด ไม่มีพระป่าสายนี้องค์ใดที่ไม่รู้จักสติปัฏฐาน 4

ถ้าความเห็นสติปัฏฐาน 4 ของท่านอาจารย์มนัสมีเพียงคำแปลแค่ไม่กี่ตัวอักษรแค่นั้นกระผมก็ขอเป็นคนโง่ต่อไปเพราะทำตามพิจารณาตามไม่ได้ไม่เป็นจริงๆ

แค่ผมเรียนจบสัตวแพทย์มาก็ต้องท่องจำตำราเป็นภาษาอังกฤษมาก็ว่ายากแล้วแต่ก็ยังมีปัญญาไม่ถึงภาษาที่อาจารย์ให้ความหมาย สติปัฏฐาน 4 ไม่รู้ว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ตามความหมายของอาจารย์

แต่เท่าที่ผมปฏิบัติตามสายหลวงปู่มั่นมาอย่างน้อยความโกรธ ความโลภ ความหลงที่เคยมีก็ลดลงไปเรื่อยๆ

ยังไงเมื่อคุณธรรมของท่านอาจารย์ถึงที่สุดแล้ว อย่าลืมลงมาโปรดผมให้ถึงตามด้วยจะได้เพิ่มวาสนาบารมีท่านอาจารย์ให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป

คนผ่านมาผู้โง่เขล่า

คุณผ่านมาโดนแหย่เข้าไป อาการแต๋วแตกออก เขียนมายาวเหยียด ผมก็ตอบไปเพียงปานกลางว่า (09 ธันวาคม 2553 20:36)

เรียน คุณผ่านมา [IP: 124.121.42.157]

ผมก็ยังงงๆ กับระดับ IQ ของคุณ เรื่องสมถกรรมฐานกับวิปัสนากรรมฐานนั้น คนที่เขียนตำราให้อ่านและเชื่อถือกันทุกวันนี้ คือ พระพุทธโฆษาจารย์

ในเมื่อพระพุทธโฆษาจารย์ไม่ได้จัดสติปัฏฐาน 4 ว่าเป็นสมถกรรมฐานหรือวิปัสนากรรมฐาน มันก็จบแค่นั้นแล้ว คุณจะมาดันทุรังว่า สติปัฏฐาน 4 เป็นสมถกรรมฐานกับวิปัสนากรรมฐานทำไม

อ่านหนังสือแล้วพยายามคิดด้วย สติปัฏฐาน 4 อยู่ในหัวข้อโพธิปักขิยธรรม คือ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ประกอบด้วยธรรมะ 7 หมวด คือ สติปัฏฐาน 4, สัมมัปปธาน 4, อิทธิบาท 4, อินทรีย์ 5, พละ 5, โพชฌงค์ 7, มรรคมีองค์ 8 รวมเป็น 37 จึงเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม 37
นั่นก็ดีที่สุดแล้ว ...........

อย่าไปเชื่อพระพม่า หรือหลงผิดตามพระพม่าว่า วิปัสนากรรมฐานสามารถทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ ซึ่งไม่เป็นความจริง

ในพระไตรปิฎกยืนยันชัดเจนว่า พระพุทธองค์บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณด้วย วิชชา 3 วิชชา 3 คือความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ ได้แก่
  • ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
  • จุตูปปาตญาณ มีตาทิพย์และรู้การเกิดและการตายของสัตว์โลกว่าเกิดจากเหตุอะไร
  • อาสวักขยญาณ วิชชาทำอาสวะกิเลสให้สิ้นจากกายใจ
สมถกรรมฐานหรือวิปัสนากรรมฐานเป็นหัวข้อธรรมะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการบรรลุมรรคผลเท่านั้น

ขอร้องอย่าไปจัด วิชชา 3 ให้เป็นสมถกรรมฐานหรือวิปัสนากรรมฐานอีก มันจะเป็นการแสดงความโง่ขึ้นไปอีก




13 ความคิดเห็น:

  1. พอแสดงความเห็นที่ไม่เป็นวิชาการ คุยก็บอกให้เขาเขียนและแย้งเป็นวิชาการมา แต่พอเขียนอธิบายเป็นวิชาการมา คุณก็บอกว่าเขาโง่ คนยึดตัวยึดตนเป็นที่ตั้งอย่างคุณ เมื่อต้องการโต้แย้งก็จะยึดอคติว่าของตัวดีของคนอื่นเลวอยู่ร่ำไป อีกอย่าง คำก็พม่า สองคำก็พม่า จะเหยียดชาติพันธุ์กันไปถึงไหน พระพุทธองค์ก็ทรงไม่ให้เอาเรื่องเชื้อชาติ วรรณะมาตัดสินคนอื่นไม่ใช่เหรอ ไม่ว่าจะเชื้อชาติหรือวรรณะไหนก็เข้าถึงธรรมได้ ความเจริญรุ่งเรืองทางศาสนาชาวพม่าเขามีมาก่อนเราเสียด้วยซ้ำ ลองไปศึกษาประศาสตร์ทางพุทธศาสนาก็จะรู้.

    วิปัสสนา แปลว่าตามศัพท์ว่า การเห็นชัดเจน หรือ การเห็นแจ้ง

    วิปัสสนา แปลว่าตามใจความว่า การคิดอย่างชาญฉลาด มีปัญญา เกี่ยวกับสังขารธรรมอย่างละเอียดโดยใช้ลักษณะต่าง ๆ นานา เช่น เมื่อคิดทำความเข้าใจเรื่องรูปขันธ์จนแจ่มแจ้งชัดเจนด้วยญาตปริญญาแล้ว ก็คิดถึงรูปขันธ์โดยใช้ลักษณะที่ไม่เที่ยงของรูปขันธ์ว่า "รูปขันธ์ไม่เที่ยง เพราะปกติแล้วรูปขันธ์ ต้องสิ้นไป หมดไป ทำลายไป. ก็ดูซิ รูปขันธ์ในชาติที่แล้ว ก็หมดไปในชาติที่แล้ว ไม่มาถึงชาตินี้, และในชาตินี้ก็จะไม่ไปถึงชาติหน้า ทั้งหมดล้วนต้องหมดไป สิ้นไป แตกทำลายไป ในชาตินั้นๆ นั่นเอง เป็นต้น, ต้องเปรียบเทียบเช่นนี้ ต่อไปอีก เช่น จากแยกเป็นชาติ ก็แยกเป็น 3 ช่วงอายุ เป็น 10, 20, 25, 50,..เรื่อยไปจนแยกเป็นชั่วเวลาที่ยกเท้า ก้าวเท้า เบี่ยงเท้าเปลี่ยนทิศ วางเท้าลง เท้าแตะถึงพื้น จนกดเท้านี้ลงให้มั่นเพื่อยกเท้าอีกข้างให้ก้าวต่อไป ทั้งหมดก็จบลงไปในช่วงนั้น ๆ นั่นเอง รูปขันธ์ตอนยกก็อย่างหนึ่ง หมดไปแล้ว รูปขันธ์ตอนก้าวเท้าจึงเกิดขึ้นใหม่ แล้วก็ดับไปอีก" เป็นต้น. การใคร่ครวญอย่างนี้ยิ่งละเอียดขึ้นเท่าไหร่ยิ่งทำให้ปัญญาเจริญดีเท่านั้น.

    อนึ่ง. ลักษณะต่าง ๆ นานา ที่ว่านั้น ท่านเรียกว่า ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ 3 อย่าง คือ ลักษณะที่ไม่เที่ยง ลักษณะที่เป็นทุกข์ และลักษณะที่เป็นอนัตตา. ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาท่านระบุไว้ว่า "ขึ้นชื่อว่า ลักษณะ มีคติเป็นบัญญัติ เป็นนวัตตัพพธรรม" ในพระไตรปิฎกหลายที่ก็กล่าวไตรลักษณ์ไว้หลายชื่อ เช่น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นจัญไร เป็นต้น. และในคัมภีร์ 2 แห่ง ก็ระบุให้ไตรลักษณ์เป็นตัชชาบัญญัติ. แต่ว่าโดยตรงแล้วไตรลักษณ์จะไม่ใช่คำพูด หรือ ศัพท์บัญญัติ คงเป็นอาการของขันธ์นั่นเอง ที่ไม่ใช่ปรมัตถ์ก็เพราะไม่สามารถจัดเข้าในสภาวธรรม 72 ข้อใดได้เลย เหมือนอิริยาบถมีการ นั่ง เดิน ยืน นอน และ แลเหลียว เหยียด คู้ เป็นต้นที่ไม่มีสภาวะเช่นกัน.

    ฉะนั้น วิปัสสนา จึงเป็นการใช้ทั้งปรมัตถ์ (คือสิ่งที่มีอยู่จริง) และ บัญญัติ (คือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงทั้งที่เป็นอาการของปรมัตถ์และชื่อเรียกต่างๆ) มากำหนดขันธ์เป็นต้น.

    ปรมัตถ์ที่ใช้กำหนดวิปัสสนานั้นท่านเรียกว่า ปัจจัตตลักษณะหรือเรียกว่า วิเสสลักษณะ, ลักขณาทิจตุกกะก็ได้ เช่น ลักษณะที่มาประจัญหน้ากันของอารมณ์ วัตถุ และวิญญาณ ซึ่งเป็นลักษณะ คือ เป็นเครื่องหมายบ่งให้สังเกตรู้ได้ว่าเป็นปรมัตถ์แต่ละอย่างไม่ปะปนกัน สามารถกำหนดได้ว่า "สิ่งนี้คือผัสสะ" เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นญาตปริญญา และแม้โดยทั่วไปท่านจะยังไม่จัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง แต่หากจะอนุโลมเอาก็ไม่ผิดอะไร เพราะก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากของการทำวิปัสสนา.

    ส่วนการใช้ สามัญญลักษณะ หรือเรียกว่า ไตรลักษณ์ เช่น ลักษณะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นเหมือนโรค เป็นเหมือนหัวฝี เป็นเหมือนลูกศร เป็นต้น มากำหนดปรมัตถ์ เช่น รูปขันธ์เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นตีรณปริญญาและปหานปริญญา และทั่วไปท่านจะจัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง เพราะมุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติตามเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในโลกิยขันธ์ให้ได้.

    การปฏิบัติทั้งหมดในคัมภีร์ท่านมักเน้นย้ำว่าจะต้องมีพื้นฐานเหล่านี้ คือ

    1.อุคคหะ การเรียนพระธรรม
    2.ปริปุจฉา การสอบสวนทวนถามทำความเข้าใจในอรรถะของพระธรรมให้ชัดเจน
    3.ธาตา การทรงจำพระธรรมได้
    4.วจสาปริจิตา สวดท่องจนมีความคล่องแคล่วชำนาญคล่องปาก
    5.มนสานุเปกขิตา ใคร่ครวญค้นคิดตรวจสอบจนขึ้นใจเข้าใจ
    6.ปฏิปัตติ หมั่นเอาพระธรรมมาใช้ในชีวิตจนสามารถจะเห็นอะไรๆ เป็นพระธรรมได้ โดยเฉพาะการปฏิบัติศีลและสมาธิที่ต้องใช้จนระงับกิเลสได้ถึงระดับหนึ่ง จึงจะทำวิปัสสนาได้

    พื้นฐานเหล่านี้ ในพระไตรปิฎกบางแห่ง พระพุทธองค์ถึงกับกล่าวให้คนที่ไม่ทำตามลำดับ ตามขั้นตอนพื้นฐานให้เป็น "โมฆบุรุษ" เลยทีเดียว ซึ่งคำนี้ถือว่าเป็นคำตำหนิที่รุนแรงมากในสมัยนั้น

    ตอบลบ
  2. นี่หรือคนที่เรียกตัวเองว่าจบ ดร. มา

    ตอบลบ
  3. พอแสดงความเห็นประเด็นที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับวิชาการ คุณก็แย้งให้แสดงประเด็นที่เป็นวิชาการ แต่พอแสดงไปแล้วคุณก็กลับบอกว่าเข้าโง่ ทั้งๆ ที่หลักการทุกอย่างถูกต้องชัดเจนในตัวมันเองอยู่แล้ว

    ทำไมชอบวิจารณ์เขาไปทั่วว่าโง่แล้วตัวเองถูกตลอด ทั้งๆ ที่ก็ไม่มีหลักฐานมาสนับสนุนที่น่าเชื่อถือและดีพอ

    สิ่งที่ตัวคุณเองยกมามันก็เป็นแต่เพียงการตีความของคุณเพียงส่วนเดียว หาใช่งานวิชาการที่ได้รับการยอมรับไม่ ยึดติดตัวยึดติดตอนอยู่ร่ำไป.

    -------------------------------------------

    วิปัสสนา แปลว่าตามศัพท์ว่า การเห็นชัดเจน หรือ การเห็นแจ้ง

    วิปัสสนา แปลว่าตามใจความว่า การคิดอย่างชาญฉลาด มีปัญญา เกี่ยวกับสังขารธรรมอย่างละเอียดโดยใช้ลักษณะต่าง ๆ นานา เช่น เมื่อคิดทำความเข้าใจเรื่องรูปขันธ์จนแจ่มแจ้งชัดเจนด้วยญาตปริญญาแล้ว ก็คิดถึงรูปขันธ์โดยใช้ลักษณะที่ไม่เที่ยงของรูปขันธ์ว่า "รูปขันธ์ไม่เที่ยง เพราะปกติแล้วรูปขันธ์ ต้องสิ้นไป หมดไป ทำลายไป. ก็ดูซิ รูปขันธ์ในชาติที่แล้ว ก็หมดไปในชาติที่แล้ว ไม่มาถึงชาตินี้, และในชาตินี้ก็จะไม่ไปถึงชาติหน้า ทั้งหมดล้วนต้องหมดไป สิ้นไป แตกทำลายไป ในชาตินั้นๆ นั่นเอง เป็นต้น, ต้องเปรียบเทียบเช่นนี้ ต่อไปอีก เช่น จากแยกเป็นชาติ ก็แยกเป็น 3 ช่วงอายุ เป็น 10, 20, 25, 50,..เรื่อยไปจนแยกเป็นชั่วเวลาที่ยกเท้า ก้าวเท้า เบี่ยงเท้าเปลี่ยนทิศ วางเท้าลง เท้าแตะถึงพื้น จนกดเท้านี้ลงให้มั่นเพื่อยกเท้าอีกข้างให้ก้าวต่อไป ทั้งหมดก็จบลงไปในช่วงนั้น ๆ นั่นเอง รูปขันธ์ตอนยกก็อย่างหนึ่ง หมดไปแล้ว รูปขันธ์ตอนก้าวเท้าจึงเกิดขึ้นใหม่ แล้วก็ดับไปอีก" เป็นต้น. การใคร่ครวญอย่างนี้ยิ่งละเอียดขึ้นเท่าไหร่ยิ่งทำให้ปัญญาเจริญดีเท่านั้น.

    อนึ่ง. ลักษณะต่าง ๆ นานา ที่ว่านั้น ท่านเรียกว่า ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ 3 อย่าง คือ ลักษณะที่ไม่เที่ยง ลักษณะที่เป็นทุกข์ และลักษณะที่เป็นอนัตตา. ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาท่านระบุไว้ว่า "ขึ้นชื่อว่า ลักษณะ มีคติเป็นบัญญัติ เป็นนวัตตัพพธรรม" ในพระไตรปิฎกหลายที่ก็กล่าวไตรลักษณ์ไว้หลายชื่อ เช่น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นจัญไร เป็นต้น. และในคัมภีร์ 2 แห่ง ก็ระบุให้ไตรลักษณ์เป็นตัชชาบัญญัติ. แต่ว่าโดยตรงแล้วไตรลักษณ์จะไม่ใช่คำพูด หรือ ศัพท์บัญญัติ คงเป็นอาการของขันธ์นั่นเอง ที่ไม่ใช่ปรมัตถ์ก็เพราะไม่สามารถจัดเข้าในสภาวธรรม 72 ข้อใดได้เลย เหมือนอิริยาบถมีการ นั่ง เดิน ยืน นอน และ แลเหลียว เหยียด คู้ เป็นต้นที่ไม่มีสภาวะเช่นกัน.

    ฉะนั้น วิปัสสนา จึงเป็นการใช้ทั้งปรมัตถ์ (คือสิ่งที่มีอยู่จริง) และ บัญญัติ (คือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงทั้งที่เป็นอาการของปรมัตถ์และชื่อเรียกต่างๆ) มากำหนดขันธ์เป็นต้น.

    ปรมัตถ์ที่ใช้กำหนดวิปัสสนานั้นท่านเรียกว่า ปัจจัตตลักษณะหรือเรียกว่า วิเสสลักษณะ, ลักขณาทิจตุกกะก็ได้ เช่น ลักษณะที่มาประจัญหน้ากันของอารมณ์ วัตถุ และวิญญาณ ซึ่งเป็นลักษณะ คือ เป็นเครื่องหมายบ่งให้สังเกตรู้ได้ว่าเป็นปรมัตถ์แต่ละอย่างไม่ปะปนกัน สามารถกำหนดได้ว่า "สิ่งนี้คือผัสสะ" เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นญาตปริญญา และแม้โดยทั่วไปท่านจะยังไม่จัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง แต่หากจะอนุโลมเอาก็ไม่ผิดอะไร เพราะก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากของการทำวิปัสสนา.

    ส่วนการใช้ สามัญญลักษณะ หรือเรียกว่า ไตรลักษณ์ เช่น ลักษณะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นเหมือนโรค เป็นเหมือนหัวฝี เป็นเหมือนลูกศร เป็นต้น มากำหนดปรมัตถ์ เช่น รูปขันธ์เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นตีรณปริญญาและปหานปริญญา และทั่วไปท่านจะจัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง เพราะมุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติตามเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในโลกิยขันธ์ให้ได้.

    การปฏิบัติทั้งหมดในคัมภีร์ท่านมักเน้นย้ำว่าจะต้องมีพื้นฐานเหล่านี้ คือ

    1.อุคคหะ การเรียนพระธรรม
    2.ปริปุจฉา การสอบสวนทวนถามทำความเข้าใจในอรรถะของพระธรรมให้ชัดเจน
    3.ธาตา การทรงจำพระธรรมได้
    4.วจสาปริจิตา สวดท่องจนมีความคล่องแคล่วชำนาญคล่องปาก
    5.มนสานุเปกขิตา ใคร่ครวญค้นคิดตรวจสอบจนขึ้นใจเข้าใจ
    6.ปฏิปัตติ หมั่นเอาพระธรรมมาใช้ในชีวิตจนสามารถจะเห็นอะไรๆ เป็นพระธรรมได้ โดยเฉพาะการปฏิบัติศีลและสมาธิที่ต้องใช้จนระงับกิเลสได้ถึงระดับหนึ่ง จึงจะทำวิปัสสนาได้

    พื้นฐานเหล่านี้ ในพระไตรปิฎกบางแห่ง พระพุทธองค์ถึงกับกล่าวให้คนที่ไม่ทำตามลำดับ ตามขั้นตอนพื้นฐานให้เป็น "โมฆบุรุษ" เลยทีเดียว ซึ่งคำนี้ถือว่าเป็นคำตำหนิที่รุนแรงมากในสมัยนั้น.

    ตอบลบ
  4. วิปัสสนา แปลว่าตามศัพท์ว่า การเห็นชัดเจน หรือ การเห็นแจ้ง

    วิปัสสนา แปลว่าตามใจความว่า การคิดอย่างชาญฉลาด มีปัญญา เกี่ยวกับสังขารธรรมอย่างละเอียดโดยใช้ลักษณะต่าง ๆ นานา เช่น เมื่อคิดทำความเข้าใจเรื่องรูปขันธ์จนแจ่มแจ้งชัดเจนด้วยญาตปริญญาแล้ว ก็คิดถึงรูปขันธ์โดยใช้ลักษณะที่ไม่เที่ยงของรูปขันธ์ว่า "รูปขันธ์ไม่เที่ยง เพราะปกติแล้วรูปขันธ์ ต้องสิ้นไป หมดไป ทำลายไป. ก็ดูซิ รูปขันธ์ในชาติที่แล้ว ก็หมดไปในชาติที่แล้ว ไม่มาถึงชาตินี้, และในชาตินี้ก็จะไม่ไปถึงชาติหน้า ทั้งหมดล้วนต้องหมดไป สิ้นไป แตกทำลายไป ในชาตินั้นๆ นั่นเอง เป็นต้น, ต้องเปรียบเทียบเช่นนี้ ต่อไปอีก เช่น จากแยกเป็นชาติ ก็แยกเป็น 3 ช่วงอายุ เป็น 10, 20, 25, 50,..เรื่อยไปจนแยกเป็นชั่วเวลาที่ยกเท้า ก้าวเท้า เบี่ยงเท้าเปลี่ยนทิศ วางเท้าลง เท้าแตะถึงพื้น จนกดเท้านี้ลงให้มั่นเพื่อยกเท้าอีกข้างให้ก้าวต่อไป ทั้งหมดก็จบลงไปในช่วงนั้น ๆ นั่นเอง รูปขันธ์ตอนยกก็อย่างหนึ่ง หมดไปแล้ว รูปขันธ์ตอนก้าวเท้าจึงเกิดขึ้นใหม่ แล้วก็ดับไปอีก" เป็นต้น. การใคร่ครวญอย่างนี้ยิ่งละเอียดขึ้นเท่าไหร่ยิ่งทำให้ปัญญาเจริญดีเท่านั้น.

    อนึ่ง. ลักษณะต่าง ๆ นานา ที่ว่านั้น ท่านเรียกว่า ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ 3 อย่าง คือ ลักษณะที่ไม่เที่ยง ลักษณะที่เป็นทุกข์ และลักษณะที่เป็นอนัตตา. ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาท่านระบุไว้ว่า "ขึ้นชื่อว่า ลักษณะ มีคติเป็นบัญญัติ เป็นนวัตตัพพธรรม" ในพระไตรปิฎกหลายที่ก็กล่าวไตรลักษณ์ไว้หลายชื่อ เช่น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นจัญไร เป็นต้น. และในคัมภีร์ 2 แห่ง ก็ระบุให้ไตรลักษณ์เป็นตัชชาบัญญัติ. แต่ว่าโดยตรงแล้วไตรลักษณ์จะไม่ใช่คำพูด หรือ ศัพท์บัญญัติ คงเป็นอาการของขันธ์นั่นเอง ที่ไม่ใช่ปรมัตถ์ก็เพราะไม่สามารถจัดเข้าในสภาวธรรม 72 ข้อใดได้เลย เหมือนอิริยาบถมีการ นั่ง เดิน ยืน นอน และ แลเหลียว เหยียด คู้ เป็นต้นที่ไม่มีสภาวะเช่นกัน.

    ฉะนั้น วิปัสสนา จึงเป็นการใช้ทั้งปรมัตถ์ (คือสิ่งที่มีอยู่จริง) และ บัญญัติ (คือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงทั้งที่เป็นอาการของปรมัตถ์และชื่อเรียกต่างๆ) มากำหนดขันธ์เป็นต้น.

    ปรมัตถ์ที่ใช้กำหนดวิปัสสนานั้นท่านเรียกว่า ปัจจัตตลักษณะหรือเรียกว่า วิเสสลักษณะ, ลักขณาทิจตุกกะก็ได้ เช่น ลักษณะที่มาประจัญหน้ากันของอารมณ์ วัตถุ และวิญญาณ ซึ่งเป็นลักษณะ คือ เป็นเครื่องหมายบ่งให้สังเกตรู้ได้ว่าเป็นปรมัตถ์แต่ละอย่างไม่ปะปนกัน สามารถกำหนดได้ว่า "สิ่งนี้คือผัสสะ" เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นญาตปริญญา และแม้โดยทั่วไปท่านจะยังไม่จัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง แต่หากจะอนุโลมเอาก็ไม่ผิดอะไร เพราะก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากของการทำวิปัสสนา.

    ส่วนการใช้ สามัญญลักษณะ หรือเรียกว่า ไตรลักษณ์ เช่น ลักษณะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นเหมือนโรค เป็นเหมือนหัวฝี เป็นเหมือนลูกศร เป็นต้น มากำหนดปรมัตถ์ เช่น รูปขันธ์เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นตีรณปริญญาและปหานปริญญา และทั่วไปท่านจะจัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง เพราะมุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติตามเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในโลกิยขันธ์ให้ได้.

    การปฏิบัติทั้งหมดในคัมภีร์ท่านมักเน้นย้ำว่าจะต้องมีพื้นฐานเหล่านี้ คือ

    1.อุคคหะ การเรียนพระธรรม
    2.ปริปุจฉา การสอบสวนทวนถามทำความเข้าใจในอรรถะของพระธรรมให้ชัดเจน
    3.ธาตา การทรงจำพระธรรมได้
    4.วจสาปริจิตา สวดท่องจนมีความคล่องแคล่วชำนาญคล่องปาก
    5.มนสานุเปกขิตา ใคร่ครวญค้นคิดตรวจสอบจนขึ้นใจเข้าใจ
    6.ปฏิปัตติ หมั่นเอาพระธรรมมาใช้ในชีวิตจนสามารถจะเห็นอะไรๆ เป็นพระธรรมได้ โดยเฉพาะการปฏิบัติศีลและสมาธิที่ต้องใช้จนระงับกิเลสได้ถึงระดับหนึ่ง จึงจะทำวิปัสสนาได้

    พื้นฐานเหล่านี้ ในพระไตรปิฎกบางแห่ง พระพุทธองค์ถึงกับกล่าวให้คนที่ไม่ทำตามลำดับ ตามขั้นตอนพื้นฐานให้เป็น "โมฆบุรุษ" เลยทีเดียว ซึ่งคำนี้ถือว่าเป็นคำตำหนิที่รุนแรงมากในสมัยนั้น.

    ตอบลบ
  5. วิปัสสนา แปลว่าตามศัพท์ว่า การเห็นชัดเจน หรือ การเห็นแจ้ง

    วิปัสสนา แปลว่าตามใจความว่า การคิดอย่างชาญฉลาด มีปัญญา เกี่ยวกับสังขารธรรมอย่างละเอียดโดยใช้ลักษณะต่าง ๆ นานา เช่น เมื่อคิดทำความเข้าใจเรื่องรูปขันธ์จนแจ่มแจ้งชัดเจนด้วยญาตปริญญาแล้ว ก็คิดถึงรูปขันธ์โดยใช้ลักษณะที่ไม่เที่ยงของรูปขันธ์ว่า "รูปขันธ์ไม่เที่ยง เพราะปกติแล้วรูปขันธ์ ต้องสิ้นไป หมดไป ทำลายไป. ก็ดูซิ รูปขันธ์ในชาติที่แล้ว ก็หมดไปในชาติที่แล้ว ไม่มาถึงชาตินี้, และในชาตินี้ก็จะไม่ไปถึงชาติหน้า ทั้งหมดล้วนต้องหมดไป สิ้นไป แตกทำลายไป ในชาตินั้นๆ นั่นเอง เป็นต้น, ต้องเปรียบเทียบเช่นนี้ ต่อไปอีก เช่น จากแยกเป็นชาติ ก็แยกเป็น 3 ช่วงอายุ เป็น 10, 20, 25, 50,..เรื่อยไปจนแยกเป็นชั่วเวลาที่ยกเท้า ก้าวเท้า เบี่ยงเท้าเปลี่ยนทิศ วางเท้าลง เท้าแตะถึงพื้น จนกดเท้านี้ลงให้มั่นเพื่อยกเท้าอีกข้างให้ก้าวต่อไป ทั้งหมดก็จบลงไปในช่วงนั้น ๆ นั่นเอง รูปขันธ์ตอนยกก็อย่างหนึ่ง หมดไปแล้ว รูปขันธ์ตอนก้าวเท้าจึงเกิดขึ้นใหม่ แล้วก็ดับไปอีก" เป็นต้น. การใคร่ครวญอย่างนี้ยิ่งละเอียดขึ้นเท่าไหร่ยิ่งทำให้ปัญญาเจริญดีเท่านั้น.

    ตอบลบ
  6. อนึ่ง. ลักษณะต่าง ๆ นานา ที่ว่านั้น ท่านเรียกว่า ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ 3 อย่าง คือ ลักษณะที่ไม่เที่ยง ลักษณะที่เป็นทุกข์ และลักษณะที่เป็นอนัตตา. ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาท่านระบุไว้ว่า "ขึ้นชื่อว่า ลักษณะ มีคติเป็นบัญญัติ เป็นนวัตตัพพธรรม" ในพระไตรปิฎกหลายที่ก็กล่าวไตรลักษณ์ไว้หลายชื่อ เช่น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นจัญไร เป็นต้น. และในคัมภีร์ 2 แห่ง ก็ระบุให้ไตรลักษณ์เป็นตัชชาบัญญัติ. แต่ว่าโดยตรงแล้วไตรลักษณ์จะไม่ใช่คำพูด หรือ ศัพท์บัญญัติ คงเป็นอาการของขันธ์นั่นเอง ที่ไม่ใช่ปรมัตถ์ก็เพราะไม่สามารถจัดเข้าในสภาวธรรม 72 ข้อใดได้เลย เหมือนอิริยาบถมีการ นั่ง เดิน ยืน นอน และ แลเหลียว เหยียด คู้ เป็นต้นที่ไม่มีสภาวะเช่นกัน.

    ฉะนั้น วิปัสสนา จึงเป็นการใช้ทั้งปรมัตถ์ (คือสิ่งที่มีอยู่จริง) และ บัญญัติ (คือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงทั้งที่เป็นอาการของปรมัตถ์และชื่อเรียกต่างๆ) มากำหนดขันธ์เป็นต้น.

    ปรมัตถ์ที่ใช้กำหนดวิปัสสนานั้นท่านเรียกว่า ปัจจัตตลักษณะหรือเรียกว่า วิเสสลักษณะ, ลักขณาทิจตุกกะก็ได้ เช่น ลักษณะที่มาประจัญหน้ากันของอารมณ์ วัตถุ และวิญญาณ ซึ่งเป็นลักษณะ คือ เป็นเครื่องหมายบ่งให้สังเกตรู้ได้ว่าเป็นปรมัตถ์แต่ละอย่างไม่ปะปนกัน สามารถกำหนดได้ว่า "สิ่งนี้คือผัสสะ" เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นญาตปริญญา และแม้โดยทั่วไปท่านจะยังไม่จัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง แต่หากจะอนุโลมเอาก็ไม่ผิดอะไร เพราะก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากของการทำวิปัสสนา.

    ส่วนการใช้ สามัญญลักษณะ หรือเรียกว่า ไตรลักษณ์ เช่น ลักษณะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นเหมือนโรค เป็นเหมือนหัวฝี เป็นเหมือนลูกศร เป็นต้น มากำหนดปรมัตถ์ เช่น รูปขันธ์เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นตีรณปริญญาและปหานปริญญา และทั่วไปท่านจะจัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง เพราะมุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติตามเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในโลกิยขันธ์ให้ได้.

    ตอบลบ
  7. การปฏิบัติทั้งหมดในคัมภีร์ท่านมักเน้นย้ำว่าจะต้องมีพื้นฐานเหล่านี้ คือ

    1.อุคคหะ การเรียนพระธรรม
    2.ปริปุจฉา การสอบสวนทวนถามทำความเข้าใจในอรรถะของพระธรรมให้ชัดเจน
    3.ธาตา การทรงจำพระธรรมได้
    4.วจสาปริจิตา สวดท่องจนมีความคล่องแคล่วชำนาญคล่องปาก
    5.มนสานุเปกขิตา ใคร่ครวญค้นคิดตรวจสอบจนขึ้นใจเข้าใจ
    6.ปฏิปัตติ หมั่นเอาพระธรรมมาใช้ในชีวิตจนสามารถจะเห็นอะไรๆ เป็นพระธรรมได้ โดยเฉพาะการปฏิบัติศีลและสมาธิที่ต้องใช้จนระงับกิเลสได้ถึงระดับหนึ่ง จึงจะทำวิปัสสนาได้

    พื้นฐานเหล่านี้ ในพระไตรปิฎกบางแห่ง พระพุทธองค์ถึงกับกล่าวให้คนที่ไม่ทำตามลำดับ ตามขั้นตอนพื้นฐานให้เป็น "โมฆบุรุษ" เลยทีเดียว ซึ่งคำนี้ถือว่าเป็นคำตำหนิที่รุนแรงมากในสมัยนั้น.

    ตอบลบ
  8. พอแสดงความเห็นไปคุณก็บอกว่าให้แสดงเป็นวิชาการ แต่พอแสดงเป็นวิชาการไปคุณก็ว่าเขาโง่

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. "วิปัสสนา แปลว่า ตามใจความว่า การคิดอย่างชาญฉลาด" ถ้าแปลแบบนี้ ก็โง่ไปตามทางของคุณเถอะ

      วิปัสสนาแปลว่า "เห็นแจ้ง" กันทั้งนั้น ไม่มีพุทธวิชาการหรือนักวิชาการคนไหน แปลแบบโง่ๆ อย่างของคุณ

      อย่างอื่นก็ขี้เกียจตอบแล้ว

      ถ้าคิดว่า "เก่งมาก" ไปเขียนบล็อกเอง หรือเขียนเว็บเองเถอะ

      คุณนี่ ผ่านมาแสดงความโง่จริงๆ

      ลบ
    2. แสดงความโง่!!!???
      ใครอ่านของคุณแ้ล้ว เขาก็จะรู้ว่าอะไรถูกไม่ถูก ใครโง่ใครไม่โง่ อีกอย่างการเขียนบล๊อกก็เพื่อนให้คนเข้ามาอ่านไม่ใช่เหรอ ถ้าไม่อยากให้ใครอ่านหรือเข้ามาแสดงความเห็นอะไรก็แล้วทำไมไม่เอาเก็บไปอ่านเองล่ะคุณ เอามาลงเว็บเขียนบล๊อกทำไมกัน

      เมื่อคุณเผยแผ่สิ่งที่ไม่เหมาะสม ไม่ดีไม่งาม พูดจาพาดพิงถึงคนนั้นคนนี้เสียๆ หายๆ ว่าโง่บ้างอะไรบ้าง คนอื่นๆ ก็มีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์แค่ไม่ใช่หรือ? นี่เป็นเหตุผลของการมีช่อง "เพิ่มความคิดเห็น" มิใช่หรือ?

      อีกอย่างผมก็เขียนไว้ด้านบนมิใช่หรือว่า วิปัสสนา แปลว่าตามศัพท์ว่า การเห็นชัดเจน หรือ การเห็นแจ้ง การเห็นมันต้องอาศัยปัญญาเป็นเครื่องประกอบ คำว่าเห็นในทางพุทธศาสนาหมายถึงการเห็นทุกข์และการดับทุกข์ เห็นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นว่าทุกอย่างมีตั้งอยู่แล้วดับไป อ่านไปยึดติด ถ้าปฏิบัติวิสสนาแล้วเห็นได้ดังนี้ก็จะพ้นทุกข์ได้ พระพุทธองค์ทรงตรัสอย่างนี้ว่าอย่างนี้ ทรงตรัสสักครั้งไหมว่าให้เห็นด้วงแก้วใส แล้วไปยึดติดกับมัน ถ้าคิดว่ามี ก็ขอให้ยกมาเลย แล้วอธิบายมาด้วย จะได้วิเคราะห์ร่วมกันเลย

      การจะวิเคราะห์อะไรนะ ขอให้ใช้โยนิโสมนสิการหน่อย ถ้าคิดไม่เป็นจะแนะให้ก็ได้นะคุณ

      การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือ ทำในใจโดยแยบคาย การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดย อุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย เช่น

      -คิดจากเหตุไปหาผล
      -คิดจากผลไปหาเหตุ
      -คิดแบบเห็น ความสัมพันธ์ต่อเนื่อง เป็นลูกโซ่
      -คิดเน้นเฉพาะจุดที่ทำให้เกิด
      -คิดเห็น องค์ประกอบที่มา ส่งเสริมให้เจริญ
      -คิดเห็น องค์ประกอบที่มา ทำให้เสื่อม
      -คิดเห็นสิ่งที่มา ตัดขาดให้ดับ
      -คิดแบบ แยกแยะองค์ประกอบ
      -คิดแบบ มองเป็นองค์รวม
      -คิดแบบ อะไรเป็นไปได้ หรึอเป็นไปไม่ได้

      ได้ชื่อว่าชาวพุทธ ประกาศตัวว่าเป็นชาวพุทธ ขอให้ใช้หลักการของชาวพุทธมาคิดวิเคราะห์นะ อย่าวิธีคิดแบบอัตตาธิปไตย คือ การถือตัวเองเป็นใหญ่ ทำทุกสิ่งโดยนึกถึงแต่ตน ถึงฐานะเกียรติศักดิ์ศรี หรือผลประโยชน์ของตนเป็นสำคัญ

      ทีนี้จะได้รู้กันว่าใครโง่หรือไม่โง่!!!

      ลบ
    3. "เห็นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นว่าทุกอย่างมีตั้งอยู่แล้วดับไป อย่าไปยึดติด"

      ลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ4 มกราคม 2557 เวลา 03:06

    ที่เขาว่ามา เขาไม่ได้มาด่าน่ะ คุณมนัส เขามาสอนคุณ คุณมันก็แค่พวก ความรู้ไว้หากิน ไม่ใช่ความรู้เพื่อเอาตัวรอดจากนรกเลยยยย บ่องตง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ควายอย่างคุณ มีความรู้ไว้ทำอะไร

      ถามจริง........ คุณแน่ใจนะว่า คุณมีความรู้!!!!!

      ลบ